ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ส่วนประกอบของเว็บไซต์



ส่วนประกอบของเว็บไซต์ที่ดี

ส่วนหัว (Header)

สำหรับไว้แสดงโลโก้ หรือข้อความที่บ่งบอกว่า เว็บไซต์ของเรามีเนื้อหาอะไรบ้าง ในส่วนหัว อาจเป็นพื้นที่สำหรับใส่ป้ายโฆษณา สำหรับการหารายได้พิเศษ นอกจากนี้อาจมีคำนิยามของเว็บหรือสโลแกนต่อท้ายโลโก้ (อาจมีหรือไม่มีก็ได้) ถ้ามี อาจทำให้คุ้นเคยได้ง่ายขึ้น

เมนู (Navigator)

ไม่หลงผิดไปทิศทางอื่นๆ การมีเมนู ช่วยให้การค้นหาข้อมูลได้สะดวกมากขึ้น การวางเมนู ส่วนใหญ่จะอยู่ด้านบน ด้านซ้าย หรือด้านขวา เป็นหลัก ส่วนหลายๆ เว็บในปัจจุบัน มีการเพิ่มเมนูในส่วนท้าย อาจเป็นเพราะเนื้อหามีความยาวเกินหนึ่งหน้า หรือเพื่อเป็นการเพิ่มความสะดวกในการเข้าถึงเนื้อหาในส่วนอื่นๆ

เนื้อหา (Contents)

หมายถึง ข้อมูลที่เราต้องการให้ผู้เยี่ยมชมรับทราบ? เนื้อหาที่ดีควรมีการจัดแบ่งเป็นหมวดหมู่ให้ชัดเจน เพื่อให้สะดวกในการติดตามอ่านข้อมูลอื่นๆ เพ่ิมเติม ส่วนประเภทเนื้อหา ประกอบด้วย
ข้อความที่เป็นตัวอักษร รูปภาพ / ภาพเคลื่อนไหว ไฟล์เสียง วีดีโอ ฯลฯ

ส่วนท้าย (Footer)

สำหรับแสดงรายละเอียดพื้นฐาน เช่น ใส่คำพูด ส่วนลิขสิทธิ์ (copyright) หรือใส่ที่อยู่ในการติดต่อ

ช่องว่าง (Space)

ไม่จำเป็นที่เว็บไซต์หนึ่งๆ จะมีเนื้อหาแบบเต็มหน้าจนเกินไป การมีช่องว่างบ้าง เพื่อให้ได้ผ่อนคลายเวลาเข้าเว็บของเรา ไม่รู้สึกอึดอัด นอกจากนี้ยังเกี่ยวเนื่องกับการออกแบบด้วย
เนื้อหาส่วนประกอบและการจัดวางองค์ประกอบของเว็บไซต์ จะมีมาตราฐานดังตัวอย่างข้่างต้น แต่ถ้าเรามีการปรับเปลี่ยนหรือย้ายตำแหน่ง อาจทำให้ผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราเกิดความสับสนได้ ดังนั้น เพื่อเป็นการเริ่มต้นการทำเว็บทีดี แนะนำให้ทำตามดังตัวอย่างมาตราฐานก่อน

ส่วนประกอบย่อยอื่นๆ ที่จำเป็น

         1. Text เป็นข้อความปกติ โดยเราสามารถตกแต่งให้สวยงามและมีลูกเล่นต่างๆ ดังเช่นโปรแกรมประมวลคำ
2. Graphic ประกอบด้วยรูปภาพ ลายเส้น ลายพื้น ต่างๆ มากมาย
3. Multimedia ประกอบด้วยรูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว และแฟ้มเสียง
4. Counter ใช้นับจำนวนผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชมเว็บเพจของเรา
5. Cool Links ใช้เชื่อมโยงไปยังเว็บเพจของตนเองหรือเว็บเพจของคนอื่น
6. Forms เป็นแบบฟอร์มที่ให้ผู้เข้าเยี่ยมชม กรอกรายละเอียด แล้วส่งกลับมายังเว็บเพจ
7. Frames เป็นการแบ่งจอภาพเป็นส่วนๆ แต่ละส่วนก็จะแสดงข้อมูลที่แตกต่างกันและเป็นอิสระจากกัน
8. Image Maps เป็นรูปภาพขนาดใหญ่ที่กำหนดส่วนต่างๆ บนรูป เพื่อเชื่อมโยงไปยังเว็บเพจอื่นๆ
9.Java Applets เป็นโปรแกรมสำเร็จรูปเล็กๆ ที่ใส่ลงในเว็บเพจ เพื่อให้การใช้งานเว็บเพจมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

        นอกจากส่วนประกอบดังกล่าวแล้ว องค์ประกอบที่นิยมใส่ไว้ในเว็บเพจอีก 2 ส่วน ได้แก่ สมุดเยี่ยม (guestbook) และเว็บบอร์ด (webboard) ที่ช่วยให้เว็บเพจกลายเป็นสื่อที่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้กับผู้สร้างและระหว่างผู้ใช้ด้วยกันเอง

ความคิดเห็น

  1. อนุญาตให้ฉันแนะนำคุณกับบริการเงินทุน LE-MERIDIAN เราเข้าสู่ธุรกิจสินเชื่อโดยตรงและการจัดหาเงินทุนในแง่ของการลงทุน เราให้บริการทางการเงินแก่ภาคเอกชน / บริษัท ที่มองหาการเข้าถึงกองทุนในตลาดทุนเช่นน้ำมันและก๊าซอสังหาริมทรัพย์พลังงานทดแทนเวชภัณฑ์การดูแลสุขภาพการขนส่งการก่อสร้างโรงแรมและอื่น ๆ เก้าร้อยล้านดอลลาร์) ในทุกภูมิภาคของโลกตราบใดที่ผลตอบแทนการลงทุน 1.9% ของเราสามารถรับประกันได้ในโครงการ
    บริการเงินทุน Le-Meridian
    (60 Piccadilly, Mayfair, London W1J 0BH, สหราชอาณาจักร) อีเมลอีเมลติดต่อ .... lfdsloans@lemeridianfds.com
    WhatsApp ____ + 1 (989) 394-3740

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การติดตั้งและการตั้งค่า Apache Virtual Hosts ใน Ubuntu

นอกจากนี้คุณจะต้องมีการติดตั้งโปรแกรม Apache เพื่อที่จะทำงานผ่านขั้นตอนต่างๆเหล่านี้ หากคุณยังไม่ได้ติดตั้ง ก็ให้คุณใช้คำสั่งนี้ในการติดตั้ง: sudo apt-get update sudo apt-get install apache2 หลังจากขั้นตอนเหล่านี้จะเสร็จสมบูรณ์เราสามารถเริ่มต้นได้ สำหรับวัตถุประสงค์ของคู่มือนี้, การตั้งค่าของฉันจะทำโฮสต์เสมือน example.com และ test.com จะถูกอ้างอิงคู่มือตลอด แต่คุณควรใช้โดเมนของคุณเองในขณะที่ตั้งค่าไปพร้อมกัน เราจะแสดงวิธีการแก้ไขโฮสต์ท้องถิ่นของคุณยื่นภายหลังการทดสอบการตั้งค่าหากคุณใช้ค่าหุ่น นี้จะช่วยให้คุณสามารถทดสอบการตั้งค่าของคุณจากคอมพิวเตอร์ที่บ้านของคุณแม้ว่าเนื้อหา ของคุณจะไม่สามารถใช้ได้ผ่านชื่อโดเมนที่จะเข้าชมอื่น ๆ ขั้นตอนที่ 1 — Create the Directory Structure ขั้นตอนแรกที่เราจะไปใช้เวลาที่จะทำให้โครงสร้างไดเรกทอรีที่จะเก็บข้อมูลเว็บไซต์ที่เราจะให้บริการกับผู้เข้าชม document root ของเรา (ไดเรกทอรีระดับบนสุดที่ Apache มีลักษณะที่จะหาเนื้อหาที่จะให้บริการ) จะถูกกำหนดให้แต่ละภายใต้ไดเรกทอรี / var / www ไดเรกทอรี เราจะสร้างไดเรกทอรีที่นี่สำหรับทั้งสองของโฮสต์

json_encode การส่งค่าตัวแปรที่เป็นชนิด อาเรย์จาก PHP ส่งให้กับ Javascript

หลายคนคงเคยมีปัญหากับการส่งค่าตัวแปร อาเรย์จาก PHP ให้กับ Javascript  ซึ่งตอนนี้ PHP มีฟังก์ชั่นที่ช่วยในการทำงานแปลงข้อมูล คือการ encode ข้อมูล โดยใช้ฟังก์ชัน json_encode ของ PHP ซึ่งเป็นอีกฟังก์ชันหนึ่งที่น่าสนใจมาก เพราะว่า ฟังก์ชันนี้จะทำหน้าที่แปลงค่าที่เราส่งให้ argument ให้ออกมาเป็น json ซึ่งสามารถนำเอาไปใช้เพื่อคืนค่าให้กับ AJAX แทนที่จะเป็น XML หรือ Text  จะช่วยให้เราใช้ javascript จัดการกับ Response ได้ง่ายยิ่งขึ้น แค่นี้ก็จะช่วยแก้ปัญหา การส่งค่าตัวแปรอาเรย์ไปยัง Javascript ได้เรียบร้อย รูปแบบการใช้งานก็ตามนี้ รูปแบบ string json_encode ( mixed $value [,int $options = 0] ) ตัวอย่าง <?php $arr=array('a'=>1,'b'=>2,'c'=>3,'d'=>4,'e'=>5); echo json_encode($arr); ?> ผลลัพท์ที่ได้ {"a":1,"b":2,"c":3,"d":4,"e":5} credit:http://www.imooh.com/